เรื่องราวทั่วไป
เผื่อหลายคนยังไม่รู้! รูป "เสด็จพ่อ ร.๕" ที่คนคุ้นตา ท่านกำลังทอดอะไร และใครเป็นคนถ่าย?
Advertisements
Advertisements
เคยสงสัยหรือไม่ รูป "เสด็จพ่อ ร.๕" ที่คนคุ้นตา ท่านกำลังทอดอะไร และใครเป็นคนถ่าย...?
เวลาเพื่อนๆไปทานอาหารตามร้านอาหารไทยร้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหารใหญ่ ร้านอาหารเล็กๆ ภัตรคารหรือร้านตามสั่งข้างทาง ถ้าสังเกตกันเพื่อนๆจะเห็นร้านเหล่านั้นมักแขวนรูปถ่าย ของรัชกาลที่ 5 ขณะพระองค์กำลังทำอาหาร รูปนี้ ติดไว้ที่ผนังร้านเป็นประจำ บางที่ก็ยังมีเครื่องสักการะบูชาต่างหากอีกด้วย
วันนี้เราจะมาเฉลยให้ทุกท่านฟังว่ารูปภาพนี้ พระองค์กำลังทำอาหารอะไร และใครเป็นคนถ่ายภาพนี้จ้า
ภาพนี้ถ่ายที่ พระตำหนักเรือนต้น พระที่นั่งวิมานเมฆ และอาหารที่ท่านกำลังตั้งพระทัยทำอยู่นั้นคือ ทอดปลาทู นั้นเองจ้า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเสวยปลาทูเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้นถือว่าปลาทูเป็นของหรู เสด็จเมืองเพชรคราวใดก็มักจะเอ่ยถึงปลาทูเสมอ ได้มีการบันทึกไว้ว่า ท่านไม่โปรดปลาทูทอดที่เหม็นคาว ส่วนผู้ที่ทอดปลาทูได้ถูกพระราชหฤทัยมากที่สุดก็คือ เจ้าจอมเอิบ ซึ่งรับหน้าที่ทอดปลาทูถวายมาตลอด ครั้งหนึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงมีรับสั่งไว้ว่า
"เรื่องทอดปลาทูข้าอยู่ข้างจะกลัวมาก ถ้าพลาดไปแล้วข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาทอดปลาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน บอกกรมวังให้เขาจัดรถให้นางเอิบ ออกไปทอดเตรียมเตาและกระทะให้พร้อม"
และสำหรับผู้ที่ถ่ายภาพนี้คือ เจ้าจอบเอิบ เจ้าจอมเอิบ มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพ และล้างรูปได้ด้วยตัวเอง เป็นช่างภาพสมัครเล่นในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายหลายพระองค์
รูปรัชกาลที่ 5 ที่ทุกคนคุ้นเคย รู้หรือไม่พระองค์กำลังทำอาหารอะไร และใครเป็นคนถ่าย
ขอบคุณที่มา :: kodlikes และ teenee
Advertisements
Advertisements
บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพทั้งหมด ทางเว็บไซต์ได้รวบรวมไว้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อ่านเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้นำไปอ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยของแพทย์ได้ หากมีการนำข้อมูลในเว็บไซต์ไปใช้ ทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น จากการนําข้อมูลดังกล่าวไปใช้ ในทุกกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้นควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำอธิบายเพิ่มเติม และควรต้องทราบว่า ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเป็นข้อมูลทั่วๆ ไป ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับคนไข้ทุกๆคน
Advertisements
0 ความคิดเห็น